ศาลปะกำ
![]() |
![]() |
![]() |
ศาลประกำ สร้างขึ้นปลายปี พ.ศ.2539 โดยครูบาปฎิยายเภา แสนดี เป็นผู้ประสิทธิ์ ประสาทวิชา พร้อมด้วย ครูบาหมอมาก สุขศรี ครูบาหมอมิว ศาลางาม หมอท้าว ศาลางาม
เกิดเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายพรหมมา และ นางสมบูรณ์ แสนดี ได้รับการศึกษาด้วยการบวชเรียนเป็นเวลา ๒ ปี สมรสกับนางนุย มีบุตรจำนวน ๖ คน
นายเภา เป็นชาวกูยอะจีง (กูยผู้เลี้ยงช้าง) ได้เรียนรู้วิชาคชศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาสำคัญสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์กูย โดยเป็นลูกศิษย์ของหมอลี(ครูบาใหญ่ของช้างในสมัยนั้น) เริ่มเรียนตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี เป็นมะช้างติดตามหมอช้างไปกับกองคาราวาน จับช้างด้วยความเอาใจใส่ มีความมานะ และได้รับการปะชิจนเป็นหมอช้างใหญ่ เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี จากนั้นก็จะนำกองคาราวานไปจับช้างป่าตามแนวเขาพนมดงรักทางด้านประเทศกัมพูชา ปีละ ๒-๓ ครั้ง ๆ ละ ๒-๓ เดือน เมื่อจับได้ก็นำมาฝึกปรือบำรุงรักษาจนช้างมีความเชื่องกลายเป็นช้างบ้าน และคัดเลือกช้างที่มีลักษณะดีไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ มีลูกศิษย์เป็นหมอช้างหลายคน อายุ ๒๖ ปี ได้รับสถาปนาจากบรรดาหมอช้างด้วยกันขึ้นเป็นครูบาใหญ่ หรือครูบากำหลวง และครองตนอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมมาตลอด จนกลายเป็นที่พึ่งของกลุ่มผู้เลี้ยงช้างทั้งในเขตตำบลกระโพ จังหวัดสุรินทร์ ต่างจังหวัด และต่างประเทศ
ผลงานและเกียรติประวัติ
๑. เป็นหมอช้างระดับครูบาใหญ่ สามารถเป็นผู้นำในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับช้าง และสามารถครองตนอยู่ในศีลธรรมสมกับฐานะกำลวงปืด (ครูบาใหญ่) จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๖๗ ปี มีความสามารถจ่มคาถาผีปะกำ นำพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับช้าง เช่น เซ่นผีปะกำ การปะชิ หมอช้าง การทำหนังปะกำ การปะซะ เป็นต้น
๒. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคชศาสตร์ เช่น คุณลักษณะของช้าง การบำรุงรักษาช้าง การฝึกช้างต่อ การเฝ้าระวังช้าง การเฝ้าสังเกตช้าง การคล้องช้าง การฝึกหัดให้ช้างเชื่อง การบริบาลช้าง จิตวิทยาช้าง สมุนไพรอาหารช้าง ฯลฯ ได้รับเชิญทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับช้างในพิธีต่างๆ
๓. เป็นหมอช้างระดับครูบาใหญ่ที่อาวุโสที่สุดในปัจจุบัน จนได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาภูมิปัญญา ชาวบ้าน (หมอช้าง) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้รับปริญญาบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันราชภัฎ-สุรินทร์
การเลี้ยงช้างและการจับช้างป่าถือเป็นวัฒนธรรมของชาวกูยอะจืงและชาวเขมร ซึ่งมีการสืบทอดวิชาคชศาสตร์ติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน และมีการจัดระบบความรู้และเผยแพร่ให้กระจายกว้างขวางออกไป สมกับที่ "ช้าง" ได้รับยกย่องเป็นสัญลักษณ์แห่งประเทศสยามมาแต่อดีต ช้างจึงมีความสำคัญอยู่ในชีวิตจิตใจของชาวไทยทั่วไป นายเภา แสนดี เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้ด้านคชศาสตร์แก่ชาวไทยและชาวโลก เป็นเสาหลักสำหรับพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับช้างและการแสดงของช้างในจังหวัดสุรินทร์ และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ