ความเป็นมาของวังช้างอยุธยา แล เพนียด

ร.10 ทรงพระราชทานลายพระหัตถ์ ให้แก่อาสาสมัครกู้ภัยฯ พุทไธสวรรย์-ปชช. ที่มาเฝ้าฯ

  ความเป็นมาของวังช้างอยุธยา  แล เพนียด

  วังช้างอยุธยาเริ่มต้นกิจการปลายปี  2539 โดยคุณลายทองเหรียญ มีพันธุ์ ได้ขออนุญาตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อจัดตั้งปางช้างอยุธยา โดยการนำช้าง 8 เชือกแรก มาทำกิจกรรมบริการนั่งช้างชมโบราณสถาน ผ่านศาลหลักเมือง วัดเกษ คุ้มขุนแผน วัดพระราม วิหารพระมงคลบพิตรและวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นภาพที่งดงามย้อนยุค

  การนำช้าง 8 เชือกนั้น คุณลายทองเหรียญ  มีพันธุ์

  เลี้ยงช้างไว้ที่บ้านร้านอาหารวังกุ้งใหญ่ฟาร์ม อำเภอวังน้อยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยน้องพลอยปัจจุบันคือ สัตวแพทย์หญิงลาภทองแท้  มีพันธุ์  สมัยนั้นอายุ 7 ขวบอยากเลี้ยงช้างไว้ที่บ้านทำให้มีการศึกษาเรียนรู้พฤติกรรมของช้าง พลายนำโชคซึ่งเป็นช้างที่น่ารักสามารถขึ้นรถปิคอัพไปมาท่องเที่ยวได้เหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป  การนำช้าง 8 เชือก ซึ่งเป็นช้างที่เร่ร่อนอยู่ในกรุงเทพฯ  โดยการเช่าช้าง จากชาวบ้านผู้เลี้ยงช้าง มีข้อตกลงคือ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับช้างไทย ซึ่งสมัยนั้นประสบปัญหาช้างตกงานออกจากป่า เร่ร่อนตามเมืองหลวงและปริมณฑล ทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมายเช่นประสบอุบัติเหตุ ช้างตกมันเกิดปัญหาสังคม สมัยนั้นรัฐบาลก็ให้ความสำคัญโดยการผลักดันให้ช้างกลับไปบ้านเกิดเพื่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่นหมู่บ้านช้างสุรินทร์หมู่บ้านช้างบ้านค่าย จังหวัดชัยภูมิ และก็มีพี่น้องชาวช้างกลุ่มหนึ่งก็ไปเปิดปางช้างที่ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่เชียงใหม่บาง ภูเก็ต ปางช้างพัทยา

  มีแนวคิดของหน่วยราชการ ที่จะสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

   บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบย้อนยุคในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่จะทำให้การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีชีวิตชีวาคือการนำสัตว์พาหนะโบราณที่ใช้ในสมัยอยุธยา เช่นช้าง ม้า วัว ควาย กลับมาบริการเป็นกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยว
เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ของชีวิตและครับครัวในเดือนพฤษภาคม 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชทานอาหารช้าง เป็นการส่วนพระองค์ ครอบครัวมีพันธุ์เป็นบุญของชีวติอย่างยิ่งทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาปางช้างให้งดงามยิ่งใหญ่

  สร้างงานให้ช้างและในปีเดียวกันนั้นก็ได้รับมอบหมายในการประชาสัมพันธ์อยุธยามรดกโลก  คือการจัดสาธิตการคล้องช้าง จึงเกิดการรวบรวมช้างจำนวน 109 เชือกจากจังหวัดสุรินทร์เพื่อมาจัดงานคล้องช้างที่เพนียดคล้องช้าง หมู่ 3 ตำบลสวนพริก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาทำให้ช้าง 109 เชือกเดินจากหน้าศาลากลางปัจจุบัน  ถนนสายเอเชียเดินเข้าเมืองอยุธยา เป็นเรื่องการประชาสัมพันธ์ ที่ฮือฮาหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สมัยนั้นรถติดคนเดินทางมาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจะมาดูการคล้องช้างในปีนั้น

  เป็นพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระดำเนินทอดพระเนตรพิธีคล้องช้างตำราหลวง ทำให้อยุธยามีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของการจัดพิธีคล้องช้าง(ตำราหลวง)
หลังจากปี 2540 ที่ปางช้างอยุธยา แล เพนียดได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้นักท่องเที่ยวมีความสนใจโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นบริษัททัวร์เข้ามา contact ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศให้ความสนใจเรื่อยๆ ขึ้นมาทำให้กระแสสังคมมองช้างกับเมือง ไม่สัมพันธ์กันทำให้เกิดการประชาวิจารณ์ขึ้นโดยพี่น้องชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาได้ร่วมงาน

 

  ประชาวิจารณ์

  มีมติให้ช้างอยู่คู่กับอยุธยาตั้งแต่นั้นมาทำให้วังช้างอยุธยามีความเข้มแข็งและพัฒนาปางช้างมาโดยตลอด จากเช่าช้าง 8 เชือกได้ทยอยซื้อช้างต่อจากชาวบ้านส่วนหนึ่งและพัฒนาจากบ้านพักช้างที่เพนียดคล้องช้าง เป็นหมู่บ้านช้างเพนียดหลวงและมีกิจกรรมทางสังคมผลักดันกฎหมายผลักดันให้รัฐบาลจัดวันสำคัญคือวันช้างไทย และชื่อปางช้างอยุธยา เปลี่ยนเป็นวังช้างอยุธยา แล เพนียด ตั้งแต่นั้นมาวังช้างอยุธยา ฯ ได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาโดยตลอดโดยเฉพาะสีสันเย็นทั่วหล้าอยุธยามหาสงกรานต์ ด้วยการนำช้างไปเล่นน้ำที่ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ ร่วมถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวูด เรื่องอเล็กซานเดอร์เกรท และภาพยนตร์โฆษณาอีกมากมาย
ปัจจุบันปี 2566 วังช้างอยุธยา แล เพนียด มีช้างอยู่ในความดูแล 180 เชือกมาทำงานที่วังช้างอยุธยา ฯวันละ 30 เชือกและอยู่ที่หมู่บ้านช้างเพนียดหลวง 40 เชือกหมุนเวียนมาทำงานโดยการขึ้นรถบรรทุกมาในเกาะเมือง มีอัตลักษณ์รูปแบบที่สวยงามคือการแต่งกายช้างแบบย้อนยุคและแต่งกายควาญให้เหมือนกับ

  ทหารโบราณ

   เข้ากับบรรยากาศอยุธยามรดกโลกและส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและช้างก็เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมทางวัฒนธรรม  ทางศาสนา การท่องเที่ยววัฒนธรรมของประเทศสืบไป